หน้าแรก > ข่าวประชาสัมพันธ์ > 📱📲🚨วันที่ 20 พฤศจิกายน 2566 กสทช. ผนึกกำลัง สำนักงานตำรวจแห่งชาติ ทำงานเชิงรุก จัดกิจกรรม “สร้างก
บันทึกโดย :นาย อรุณ มหาไพบูลย์ (เขต33 พิษณุโลก)
วันที่บันทึก :20/11/2566
📱📲🚨วันที่ 20 พฤศจิกายน 2566 กสทช. ผนึกกำลัง สำนักงานตำรวจแห่งชาติ ทำงานเชิงรุก จัดกิจกรรม “สร้างการรับรู้และเท่าทันภัยในโลกดิจิทัล” พุ่งเป้ากลุ่มเสี่ยงในพื้นที่ห่างไกลกว่าสองหมื่นคน
        วันที่ 20 พฤศจิกายน 2566 พล.ต.อ.ดร.ณัฐธร เพราะสุนทร กสทช.ด้านกฎหมายและประธานอนุกรรมการบูรณาการบังคับใช้กฎหมายความผิดทางเทคโนโลยีฯ, นางสาวพูลศิริ นิลกิจศรานนท์ รักษาการแทน ผู้ช่วยเลขาธิการ กสทช. จัดกิจกรรม “สร้างการรับรู้และเท่าทันภัยในโลกดิจิทัล” เน้นสร้างการรับรู้และเตือนภัยประชาชนเกี่ยวกับภัยออนไลน์และการหลอกลวงในรูปแบบต่างๆ มีการนำเสนอหัวข้อ “รับรู้และเท่าทันภัยหลอกลวงออนไลน์” โดย พล.ต.อ.ดร.ณัฐธร เพราะสุนทร กสทช. ด้านกฎหมาย “กรณีตัวอย่างภัยหลอกลวงออนไลน์” โดย พล.ต.ต.ประสิทธิ์ เฉลิมวุฒิศักดิ์ อดีต เลขาธิการ สคบ. และหัวหน้าคณะทำงานกำหนดแนวทางดำเนินการเกี่ยวกับความผิดทางเทคโนโลยีโทรคมนาคมฯ และหัวข้อ “อยู่อย่างไรไม่ให้ตกเป็นเหยื่อ” โดย พล.ต.ต.นิเวศน์ อาภาวศิน รองผู้บัญชาการตำรวจสืบสวนสอบสวนอาชญากรรมทางเทคโนโลยี มีการถ่ายทอดสดผ่านระบบ Online ไปยังศูนย์อินเทอร์เน็ตสาธารณะ ซึ่งเป็นพื้นที่ให้บริการโทรคมนาคมพื้นฐานโดยทั่วถึงและเพื่อสังคม หรือ Universal Service Obligation : USO ของ กสทช. มุ่งเป้าไปยังประชาชนในพื้นที่ห่างไกลกว่าสองหมื่นคน

     พล.ต.อ.ดร.ณัฐธร เพราะสุนทร กสทช. ด้านกฎหมาย กล่าวว่า ที่ผ่านมา สำนักงาน กสทช. ได้ตระหนักถึงปัญหาอาชญากรรมทางเทคโนโลยี โดยได้ร่วมกับ สำนักงานตำรวจแห่งชาติ ดำเนินการป้องกันและปราบปรามการกระทำความผิด ทั้งการกวดขันจับกุมสถานีโทรคมนาคมผิดกฎหมาย, การจัดระเบียบเสาสัญญาณตามแนวชายแดน, การแก้ไขระเบียบและกฎหมายที่เกี่ยวข้อง ตีกรอบให้ผู้รับใบอนุญาตปฎิบัติตามมาตรการที่ กสทช. กำหนด, การเดินทางไปพบปะหารือกับผู้บริหารระดับสูงของประเทศเพื่อนบ้าน เพื่อแสวงหาความร่วมมือในการป้องกันภัยจากแก๊งคอลเซ็นเตอร์ที่เคลื่อนไหวอยู่ตามแนวชายแดน
 
1700469971551.jpg

     นอกจากนี้ สำนักงาน กสทช. ยังได้ทำงานเชิงรุกโดยการเดินหน้าประชาสัมพันธ์ผ่านสื่อต่างๆ เน้นสร้างการรับรู้กับประชาชนให้รู้เท่าทันกลโกงของแก๊งคอลเซ็นเตอร์ ซึ่งในปัจจุบันประชาชนส่วนใหญ่ รู้เท่าทันและระมัดระวังการใช้เทคโนโลยีมากขึ้นแต่ก็ยังมีกลุ่มประชากรบางส่วนที่ยังเข้าไม่ถึงข้อมูลข่าวสาร เช่น เยาวชน ผู้สูงอายุ และประชาชนในเขตพื้นที่ห่างไกล เป็นต้น
     ในวันนี้ สำนักงาน กสทช. จึงได้ร่วมมือกับ สำนักงานตำรวจแห่งชาติ จัดกิจกรรม “สร้างการรับรู้และเท่าทันภัยในโลกดิจิทัล” เน้นสร้างการรับรู้และเตือนภัยประชาชนเกี่ยวกับภัยออนไลน์และการหลอกลวงในรูปแบบต่างๆ การให้ความรู้เกี่ยวกับ อาชญากรรมออนไลน์, รูปแบบการหลอกลวงทางเทคโนโลยี, การหลอกลวงด้วยเว็บไซต์หน่วยงานราชการปลอม, เพจหรือโฆษณาปลอม Scam Call, False Base Station, Sim Box, เผยแพร่มาตรการของ กสทช. เช่น การเพิ่ม Prefix “+697” “+698” การจัดทำบริการ USSD หมายเลข *138 ให้ประชาชนปฏิเสธสายจากต่างประเทศ *179*เลขบัตรประชาชน# ตรวจสอบเบอร์ที่ลงทะเบียนกับเลขบัตรประชาชน, การใช้งาน App 3ชั้น “ตรวจ แจ้ง ล็อค” รวมถึงการลงทะเบียน SIM Card หมายเลขโทรศัพท์ โดยมีการถ่ายทอดสดผ่านระบบ Online ไปยังศูนย์อินเทอร์เน็ตสาธารณะซึ่งเป็นพื้นที่ให้บริการโทรคมนาคมพื้นฐานโดยทั่วถึงและเพื่อสังคม” หรือ Universal Service Obligation : USO ของ กสทช. เข้าถึงกลุ่มเป้าหมายประชาชนในพื้นที่ห่างไกลกว่าสองหมื่นคน
จำนวนผู้เข้าชม

สำนักงาน กสทช. เขต 33 (พิษณุโลก)   

ที่ตั้ง : 190 ม. 7 (บ้านคุ้งหม้อ) ต. ปากโทก อ. เมือง จ. พิษณุโลก 65000
ที่อยู่รับ-ส่งจดหมาย/พัสดุไปรษณีย์ : ตู้ ปณ. 139 ปณจ. พิษณุโลก อ. เมือง จ. พิษณุโลก 65000

email : mtr_33@nbtc.go.th (สารบรรณอิเล็กทรอนิกส์)

"สายด่วน กสทช. 1200 (โทรฟรี)"  ช่องทางการรับเรื่องสอบถามและร้องเรียนจากประชาชนของศูนย์ Call Center 1200

โทรศัพท์ : 0 5524 5151-2  โทรสาร : 0 5524 5150

งานใบอนุญาต โทรฯ 0 2670 8888  ต่อ  4629, 4634 ,4635   
งานตรวจสอบและกำกับดูแล โทรฯ 0 2670 8888 ต่อ 4633 , 4637 ,4638 
งานตรวจสอบเนื้อหาและคุ้มครองผู้บริโภค โทรฯ 0 2670 8888 ต่อ 4632, 4635 
งานอำนวยการ โทรฯ 0 2670 8888 ต่อ 4626, 4630    
พิกัดที่ตั้ง : Lat : 16.902877  ํN      Long: 100.271843  ํE  หรือ
            Lat : 16°54′10.36″  ํN  Long: 100°16′18.63″  ํE 
>> แผนที่/คลิกเพื่อนำทาง Untitled2-(2).png  <<