หน้าแรก > ข่าวประชาสัมพันธ์ > 📢 กฏหมายปราบแก๊งคอลเซนเตอร์มีผลบังคับใช้แล้ว
บันทึกโดย :นาย อรุณ มหาไพบูลย์ (เขต33 พิษณุโลก)
วันที่บันทึก :06/04/2566
📢 กฏหมายปราบแก๊งคอลเซนเตอร์มีผลบังคับใช้แล้ว
กฏหมายปราบแก๊งคอลเซนเตอร์มีผลบังคับใช้แล้ว
 
S__17277047_jpg@111.jpg

        ราชกิจจานุเบกษา เผยแพร่ 'พระราชกำหนดมาตรการป้องกันและปราบปรามอาชญากรรมทางเทคโนโลยี พ.ศ. 2566' มีผลวันถัดจากวันที่ประกาศลงราชกิจจานุเบกษา (17 มี.ค. 66) เพื่อคุ้มครองประชาชนจากอาชญากรรมทางเทคโนโลยี
        ศาสตราจารย์พิเศษวิศิษฏ์ วิศิษฏ์สรอรรถ ปลัดกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม (ดีอีเอส) เปิดเผยว่า วัตถุประสงค์ของกฎหมาย คือ การคุ้มครองประชาชนผู้สุจริตซึ่งถูกหลอกลวงจนสูญเสียไปซึ่งทรัพย์สิน ผ่านโทรศัพท์หรือวิธีการทางอิเล็กทรอนิกส์ ซึ่งกฎหมายฉบับนี้เป็นกฎหมายสําคัญที่รัฐบาลผลักดันออกมาเพื่อแก้ไขปัญหาการหลอกลวงทางออนไลน์ และปัญหาอาชญากรรมทางออนไลน์ทั้งหมด คาดว่าปัญหาจะลดลงอย่างแน่นอน สําหรับบทลงโทษสูงสุดของผู้กระทําความผิดที่เกี่ยวข้องกับอาชญากรรมออนไลน์ ต้องระวางโทษจําคุกตั้งแต่ 2-5 ปี หรือปรับตั้งแต่ 200,000 บาท ถึง 500,000 บาท หรือทั้งจําทั้งปรับ
        นายผยง ศรีวณิช ประธานสมาคมธนาคารไทย กล่าวว่า พ.ร.ก.มีบทลงโทษที่ชัดเจนสําหรับผู้กระทําผิด รวมทั้งผู้เปิดบัญชีม้า และผู้ให้การสนับสนุน ซึ่งสมาคมธนาคารไทยตระหนักถึงความสําคัญในการดูแลช่วยเหลือลูกค้าทุกกลุ่มอย่างเต็มที่ อย่างไรก็ตาม ผู้ใช้บริการจําเป็นต้องรู้เท่าทันภัยทางการเงิน และปฏิบัติตามแนวทางการใช้งานโมบายแบงกิ้งให้ปลอดภัย ซึ่งเป็นเกราะป้องกันภัยสําคัญจากภัยทางการเงิน
        นายวิทยา นีติธรรม ผู้อํานวยการกองกฎหมาย สํานักงานป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน (สํานักงาน ปปง.) กล่าวว่า ได้มีการเตรียมพร้อมเพื่อรองรับการปฏิบัติตามพระราชกําหนดฉบับนี้ โดยใช้ศูนย์ปฏิบัติการป้องกันและปราบปรามการฟอกเงินในการรองรับข้อมูลที่ได้จากธนาคารและสํานักงานตํารวจแห่งชาติ และยังได้ร่วมประชุมกับสมาคมธนาคารไทยและสํานักงานตํารวจแห่งชาติมาโดยตลอดเพื่อเฝ้าระวังและระงับช่องทางการทําธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์
 
สรุปสาระสำคัญ พระราชกำหนดมาตรการป้องกันและปราบปรามอาชญากรรมทางเทคโนโลยี พ.ศ. 2566 ดังนี้
 
มาตรา 4 เมื่อมีเหตุอันควรสงสัยเกี่ยวกับการกระทําความผิดอาชญากรรมเทคโนโลยี สถาบันการเงิน ผู้ให้บริการ เครือข่ายโทรศัพท์/อินเทอร์เน็ตและผู้ให้บริการอื่นที่เกี่ยวข้องสามารถเปิดเผยแลกเปลี่ยนข้อมูลระหว่างกันได้ สะดวกรวดเร็ว ผ่านระบบ/กระบวนการที่มีประสิทธิภาพ เพื่อให้หน่วยงานรัฐ เช่น ตํารวจ สามารถนําข้อมูลดังกล่าวไปใช้ประโยชน์ในการจัดการอาชญากรรมทางเทคโนโลยีได้ทันท่วงที  โดยที่ผ่านมาธนาคาร ไม่มีอํานาจในการเปิดเผยแลกเปลี่ยนข้อมูลของ ประชาชน ทําให้ไม่สามารถช่วยแก้ไขปัญหาได้อย่างมีประสิทธิภาพ พ.ร.ก. นี้ จะสร้างระบบให้หน่วยงานต่างๆ ทํางานร่วมกันได้อย่างสะดวก รวดเร็วและมีประสิทธิภาพ
 
มาตรา 5 เมื่อมีเหตุอันควรสงสัยเกี่ยวกับการกระทําความผิดฯ ตํารวจ DSI หรือ ปปง. สามารถขอรับข้อมูลที่เกี่ยวข้องจากผู้ให้บริการโทรศัพท์/อินเทอร์เน็ตได้สะดวกรวดเร็วขึ้นแก้ปัญหาเดิมที่ติดขัดกฎระเบียบต่างๆ ทําให้แก้ปัญหาให้ประชาชนได้ไม่ทันท่วงที พ.ร.ก. นี้ จะช่วยลดขั้นตอนและระยะเวลาในการขอข้อมูลที่รวดเร็วขึ้น
 
มาตรา 6 หากมีเหตุอันควรสงสัยว่า บัญชีใดเกี่ยวข้องกับการกระทําความผิดฯ ธนาคารสามารถระงับการทําธุรกรรมที่เกี่ยวข้องกับบัญชีดังกล่าวได้ทันที (ระงับไว้ได้ไม่เกิน 7 วัน) และสามารถแจ้งต่อให้ธนาคารอื่นระงับ ธุรกรรมที่เกี่ยวข้องได้ด้วย นอกจากนี้ หากตํารวจ หรือ ปปง. เป็นผู้พบเหตุฯ ก็สามารถแจ้งธนาคารให้ระงับการทําธุรกรรมได้ทันทีเช่นกัน ทั้งนี้ หากพ้น 7 วันแล้ว ไม่มีหลักฐานเอาผิดได้ให้ธนาคารยกเลิกการระงับการทําธุรกรรมดังกล่าว  โดยที่ผ่านมาธนาคารตํารวจ และ ปปง. จะสามารถระงับบัญชีได้ก็ต่อเมื่อมีผู้เสียหายแจ้งความ และมีขั้นตอนต่างๆ ทําให้ไม่สามารถระงับบัญชีต้องสงสัยได้ทันท่วงที พร้อมทั้งการทํางานเชิงรุกเพื่อตรวจจับและระงับบัญชีต้องสงสัยได้ก่อนเกิดเหตุ ซึ่งเป็นการตัดช่องทางกระทําความผิดของอาชญากร
 
มาตรา 7 หากประชาชนซึ่งเป็นผู้เสียหายเป็นผู้แจ้งว่า บัญชีใดอาจเกี่ยวข้องกับการกระทําความผิดธนาคารสามารถระงับบัญชีนั้นได้ทันที (ระงับไว้ได้ไม่เกิน 7 วัน) และธนาคารสามารถแจ้งข้อมูลต่อให้ธนาคารอื่นทราบเพื่อระงับบัญชีอื่นที่เกี่ยวข้องต่อไป โดยประชาชนผู้เสียหายต้องไปแจ้งความภายในภายใน 72 ชั่วโมง เพื่อเป็นหลักฐาน และพนักงานสอบสวนจะต้องดําเนินการเกี่ยวกับบัญชีดังกล่าวภายใน 7 วัน หากไม่มีคําสั่งให้ระงับการทําธุรกรรมไว้ต่อไปให้ธนาคารยกเลิกการระงับการทําธุรกรรมของบัญชีนั้น  โดยการแจ้งระงับบัญชีต้องสงสัยแบบเดิมมีขั้นตอนมาก ต้องรอให้ประชาชนแจ้งความร้องทุกข์ และมีคําสั่งจากเจ้าหน้าที่ตํารวจให้ระงับบัญชีหรือการทําธุรกรรมนั้นเสียก่อน ทําให้ธนาคารไม่สามารถระงับบัญชีต้องสงสัยได้ทันท่วงที
 
มาตรา 8 สามารถแจ้งธนาคารทางโทรศัพท์หรือทางอิเล็กทรอนิกส์ก็ได้ (ไม่ต้องทําหนังสือเป็นทางการหรือกรอกแบบฟอร์ม) นอกจากนี้การแจ้งความเกี่ยวกับอาชญากรรมทางเทคโนโลยีสามารถแจ้งที่กองบัญชาการตํารวจ สืบสวนสอบสวนอาชญากรรมทางเทคโนโลยีหรือสถานีตํารวจใดก็ได้ทั่วประเทศ (ไปที่สถานีตํารวจ หรือแจ้งทาง ระบบอิเล็กทรอนิกส์ก็ได้)
 
มาตรา 9 การเปิดหรือยอมให้ผู้อื่นใช้บัญชีเงินฝากหรือหมายเลขโทรศัพท์ของตนเอง (เพื่อใช้กระทําความผิด) มีโทษจําคุก 3 ปี หรือปรับไม่เกิน 300,000 บาท
มาตรา 10 และ 11 การเป็นธุระจัดหาหรือโฆษณาเพื่อให้มีการซื้อ ขาย เช่า ยืม บัญชีเงินฝาก/หมายเลขโทรศัพท์ (เพื่อใช้กระทําความผิด) มีโทษจําคุก 2-5 ปี หรือปรับ 200,000-500,000 บาท
 
 ภาพต้นฉบับ
https://www.nbtc.go.th/News/Information/59507.aspx
จำนวนผู้เข้าชม

สำนักงาน กสทช. เขต 33 (พิษณุโลก)   

ที่ตั้ง : 190 ม. 7 (บ้านคุ้งหม้อ) ต. ปากโทก อ. เมือง จ. พิษณุโลก 65000
ที่อยู่รับ-ส่งจดหมาย/พัสดุไปรษณีย์ : ตู้ ปณ. 139 ปณจ. พิษณุโลก อ. เมือง จ. พิษณุโลก 65000

email : mtr_33@nbtc.go.th (สารบรรณอิเล็กทรอนิกส์)

"สายด่วน กสทช. 1200 (โทรฟรี)"  ช่องทางการรับเรื่องสอบถามและร้องเรียนจากประชาชนของศูนย์ Call Center 1200

โทรศัพท์ : 0 5524 5151-2  โทรสาร : 0 5524 5150

งานใบอนุญาต โทรฯ 0 2670 8888  ต่อ  4629, 4634 ,4635   
งานตรวจสอบและกำกับดูแล โทรฯ 0 2670 8888 ต่อ 4633 , 4637 ,4638 
งานตรวจสอบเนื้อหาและคุ้มครองผู้บริโภค โทรฯ 0 2670 8888 ต่อ 4632, 4635 
งานอำนวยการ โทรฯ 0 2670 8888 ต่อ 4626, 4630    
พิกัดที่ตั้ง : Lat : 16.902877  ํN      Long: 100.271843  ํE  หรือ
            Lat : 16°54′10.36″  ํN  Long: 100°16′18.63″  ํE 
>> แผนที่/คลิกเพื่อนำทาง Untitled2-(2).png  <<