📶 👮 สำนักงาน กสทช. ภาค 3 และ เขต 33 ลงพื้นที่ตรวจค้นจับกุมเครื่องวิทยุคมนาคมที่ไม่ได้รับใบอนุญาต จังหวัดพิษณุโลก วันที่ 19 ตุลาคม 2565 สำนักงาน กสทช. ภาค 3 (เชียงใหม่) และสำนักงาน กสทช. เขต 33 (พิษณุโลก) ตรวจค้นจับกุมผู้ใช้เครื่องวิทยุคมนาคมที่ไม่ได้รับอนุญาต
สำนักงาน กสทช. ภาค 3 พร้อมด้วย สำนักงาน กสทช. เขต 33 และเจ้าหน้าที่ตำรวจ ลงพื้นที่ตรวจค้นจับกุมเครื่องวิทยุคมนาคมที่ไม่ได้รับใบอนุญาต จังหวัดพิษณุโลก
วันที่ 19 ตุลาคม 2565 สำนักงาน กสทช. ภาค 3 (เชียงใหม่) โดยส่วนบังคับใช้กฎหมายและนิติการ และสำนักงาน กสทช. เขต 33 (พิษณุโลก) ร่วมกับเจ้าหน้าที่ตำรวจสถานีตำรวจภูธรเมืองพิษณุโลก นำหมายค้นศาลจังหวัดพิษณุโลก เข้าตรวจค้นจับกุมผู้ใช้เครื่องวิทยุคมนาคมที่ไม่ได้รับใบอนุญาต ณ ตำบลสมอแข อำเภอเมือง จังหวัดพิษณุโลก ผลการตรวจค้นพบเครื่องวิทยุคมนาคมที่ไม่ได้รับนุญาต และอุปกรณ์ จำนวน 32 รายการ จึงร่วมกันตรวจยึดและนำตัวผู้ต้องหาพร้อมของกลางส่งพนักงานสอบสวนสถานีตำรวจภูธรเมืองพิษณุโลก เพื่อดำเนินคดีในข้อหา มี ใช้ ซึ่งเครื่องวิทยุคมนาคมโดยไม่ได้รับอนุญาตจากเจ้าพนักงานผู้ออกใบอนุญาต ตามมาตรา 6 ประกอบมาตรา 23 แห่ง พ.ร.บ. วิทยุคมนาคม พ.ศ. 2498 และที่แก้ไขเพิ่มเติม
สำนักงาน กสทช. ภาค 3
ส่วนบังคับใช้กฎหมายและนิติการ
สำนักงาน กสทช. เขต 33
ข้อควรจำ เครื่องวิทยุคมนาคมทุกแบบ/รุ่น ต้องผ่านการตรวจสอบมาตรฐานทางเทคนิค แล้วขึ้นทะเบียนกับ กสทช. อย่างถูกต้องทุกเครื่องเท่านั้น
คำแนะนำ สำหรับร้านค้าที่ไม่ต้องการรับภาระเสียค่าใบอนุญาตให้ "ใช้" ฯ (500.- บาท + ภาษีฯ 35.-) ควรใช้เครื่องวิทยุคมนาคม ย่านความถี่ประชาชน (CB) เช่น เครื่องสีแดง กำลังส่งไม่เกิน 500 มิลลิวัตต์ หรือ 0.5 วัตต์ และเพื่อหลีกเลี่ยงการแย่งช่องความถี่ใช้งาน ควรใช้เครื่องรุ่นใหม่ที่มีช่องความถี่ 160 ช่อง (ความถี่ 245.0000 - 247.0000 MHz) ทั้งนี้ ย้ำว่า 1.) เครื่องวิทยุฯ ต้องมีทะเบียนฯ 2.) เป็นเครื่องสีแดงในย่านความถี่ประชาชน 3.) กำลังส่งไม่เกิน 500 มิลิวัตต์ (เพื่อความถูกต้องและสามารถใช่งานได้อย่างมีประสิทธิภาพ) ครับ
#คนเครื่องคลื่น #ความถี่400ถึง470ยังไม่อนุญาตให้ใช้โดยทั่วไป